You are currently viewing จุลินทรีย์คืออะไร ?
  • Post category:Knowledge / Article

จุลินทรีย์คืออะไร ?

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กแต่เจ้าบทบาทมากนะ

        จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนกว่าจะมีการรวมกลุ่มกัน จุลินทรีย์มีอยู่ในธรรมชาติในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งใน น้ำ อากาศและในดิน รวมถึงพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถอยู่ได้ จุลินทรีย์มีทั้งกลุ่มที่มีประโยชน์ (Beneficial microorganism) เช่น การเป็นผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ เพิ่มสารอาหารและแร่ธาตุให้กับดิน แต่ในทางกลับกัน จุลินทรีย์บางชนิดก็เป็นเชื้อฉวยโอกาส (Opportunists) ซึ่งพบในร่างกายเป็นปกติ แต่จะก่อโรคได้ถ้าสถานที่และเวลาเหมาะสม และมีบางชนิดที่เป็นจุลินทรีย์ก่อโรค (Pathogens)

        ทั้งนี้จุลินทรีย์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์ล้วนให้ความสำคัญ และนำมาศึกษากันอย่างแพร่หลาย โดยจุลินทรีย์มีหลากหลายชนิต ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา สาหร่าย โปรโตซัว  ไมโครพลาสมา โรติเฟอร์ และไวรัส  เป็นต้น ซึ่งในแต่ละชนิดก็จะมีบทบาทแตกต่างกันออกไป

        ในช่วง ค.ศ.1632-1723 นักวิทยาศาสตร์ Leeuwenhoek ผู้ค้นพบ Animacules หรือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ปัจจุบันก็คือ จุลินทรีย์ โดยการมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่เขาผลิตขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้รู้จักสิ่งมีชิวิตขนาดเล็ก

        ในปี ค.ศ. 1839 ได้มีการตั้งทฤษฎีเซลล์ที่ Matthias Schleiden และ Theodor Schwann ได้ร่วมกันตั้งโดยมีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์ทั้งหลายได้เกิดขึ้นจากเซลล์ที่เกิดมาก่อน

        ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 – 1939 ได้มีการผลิตกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ทำให้ทราบโครงสร้างของเซลล์สิ่งมีชีวิตมากยิ่งขึ้น จึงไดเมีการแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ประเภท 

  1. เซลล์โปรคาริโอต ( Prokaryotic cells) เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ลักษณะเซลล์จะค่อนข้างเล็ก มีขนาด 0.2-10 ไมโครเมตร จะเป็นเซลล์ของพวกแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

2. เซลล์ยูคาริโอต ( Eukaryotic cells) เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ เห็ด รา เซลล์ของพืชและสัตว์ทั่วๆไป

        ปัจจุบันมีการศึกษา จุลินทรีย์ หรือ จุลชีววิทยา (Microbiology) ในด้านรูปร่าง โครงสร้าง การสืบพันธุ์ สรีรวิทยา การจัดจำแนก การแพร่กระจายในธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิตอื่น การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพในสภาพแวดล้อมที่จุลินทรีย์เจริญเติบโต 

โดยการศึกษาจุลินทรีย์แบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

1.Virology (วิสาวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส ไวรอยด์ พริออน

2.Bacteriology (แบคทีเรียวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย

3.Mycology (ราวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับฟังไจ (Fungi)

4.Phycology (สาหร่ายวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับสาหร่าย

5.Protozoology (โปรโตซัววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับโปรโตซัว

            หนึ่งในประโยชน์ของการศึกษา จุลินทรีย์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันของเสีย การบำบัดของเสีย และการสร้างมูลค่าให้แก่ของเสีย เนื่องจาก จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญทั้งด้านการเป็นโครงสร้าง  และหน้าที่ของระบบนิเวศใดๆ และยังเป็นสิ่งมีชีวิตหลักที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆอีกด้วย

ที่มา : Scimath

ใส่ความเห็น